ผู้นำ เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์กร
เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ปัญหาที่เป็นที่สนใจของนักวิชาการและบุคคลทั่วไปอยู่ตรงที่ว่า ผู้นำทำอย่างไรหรือมีวิธีการนำอย่างไรจึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามเกิดความผูกพันกับงานแล้วทุ่มเทความสามารถ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ ในขณะที่ผู้นำบางคนนำอย่างไร นอกจากผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เต็มใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมประสิทธิภาพแล้ว ยังเกลียดชังและพร้อมที่จะร่วมกันขับไล่ผู้นำให้ไปจากองค์กร
สถานการณ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของภาวะผู้นำนั้นจะมุ่งเน้นศึกษาสถานการณ์ที่สำคัญๆ เช่น อำนาจหน้าที่ และความ มั่นคงของผู้นำ ลักษณะงานของผู้นำ ความสามารถและแรงจูงใจของผู้ตาม สภาพแวดล้อมภายนอก ความคาดหวังและข้อเรียกร้องต่างๆเกี่ยวกับงานของลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และบุคคลภายนอก การศึกษาประสิทธิภาพของภาวะผู้นำจากอำนาจ-อิทธิพลของผู้นำส่วนใหญ่จะเน้นหรือพิจารณาที่ขนาด ชนิดและการใช้อำนาจของผู้นำ ดังที่ยอมรับกันแล้วว่าอำนาจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้นำ เพราะนอกจากจะทำให้มีอิทธิพลต่อลูกน้องแล้ว ยังสามารถมีอิทธิพลต่อเพื่อนผู้นำในระดับเดียวกันต่อผู้บังคับบัญชาในระดับสูง รวมทั้งบุคคลภายนอกหน่วยงานและองค์กรได้
ผู้นำองค์การเป็นผู้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงองค์การจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากผู้นำไม่เป็นผู้ริเริ่มโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องทำให้บุคลากรในองค์การยอมรับและมีความรู้สึกร่วมกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นภารกิจที่ท้าทายสำคัญของผู้นำองค์การในปัจจุบัน ดังนั้นผู้นำองค์การในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในระดับองค์การจึงต้องแสดงบทบาทที่ชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนการขับ
เคลื่อนพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ โดยมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญที่สอดคล้องตามกรอบแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้
การพัฒนาผู้นำนั้นจำเป็นต้องมีนโยบายเปิดกว้างให้กับคนรุ่นใหม่ ความสามารถในการทำงานหรือแก้ปัญหาขององค์กรด้วย การที่จะให้ผู้นำรุ่นใหม่เหล่านั้นได้มีโอกาสทำงานในฐานะผู้นำจริงนั้น องค์กรก็ต้องมีนโยบายที่เปิดกว้างให้กับบุคลากรเหล่านั้นด้วยการกระจายอำนาจและหน้าที่ให้ผู้ที่คาดหวังว่าจะเป็นผู้นำในอนาคตได้เข้ามาทำงานจริงจัง สามารถตัดสินใจได้จริงและอำนาจในการสั่งการจริงไม่เช่นนั้นแล้วผู้ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้นำก็ไม่สามารถได้ใช้ความรู้ความสามารถกับสภาวะเหตุการณ์จริง การพัฒนาผู้นำก็ไม่อาจประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง
ทักษะที่จำเป็นต้องใช้สำหรับผู้นำองค์กร
1.ทักษะทางด้านเทคนิค ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับงานด้านปฏิบัติการ
2.ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ เป็นทักษะที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร ทักษะการสร้างสัมพันธ์
3.ทักษะทางด้านความคิด เป็นทักษะด้านเชาว์ไหวพริบ การมีวิสัยทัศน์ และความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระบบทั้งหมด